เรื่อง Computer System



จัดทำโดย นายจักรพันธ์ มีสกุลวงศ์ รหัสนักศึกษา 6031280053

เรื่อง Computer System





คอมพิวเตอร์คืออะไร?

คอมพิวเตอร์ 
              คือ เครื่องคำนวณในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้นไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง

        คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึงการนับหรือการคำนวณพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ" ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์


การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ






องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System Components)
5 องค์ประกอบสำคัญคือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์และโปรแกรม (Software and Program)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)
4. บุคลากร (People Ware)
5. กระบวนการทำงาน (Procedures)



1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ

1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างดังรูป ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น







ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit)




1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล

1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก( Primary Storage หรือ MainMemory)ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น

1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์(Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่





1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )





2 ซอฟต์แวร์ ( Software ) ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่องการสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น 4 ประเภท


2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ



2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปล
ภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler)และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter)


2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัสฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น


2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆเช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรมDriver Sound , Driver Printer Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูลเป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท


2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการบางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือนโปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง

2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม



3 บุคลากร ( Peopleware ) บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้

3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA )
3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer )
3.3 ผู้ใช้ ( User )
3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator )
3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA )
3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager)
ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์เป็น 6ประเภทดังนี้
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่าพันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกันประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร
3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้
หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่นการคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำมินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม
4.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )
5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกันเช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา( portable computer )
6.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ




ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1.ซีพียู(CPU:Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลกลางในการทำงานของคอมพิวเตอร์ปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์

2.เมนบอร์ด (Mainboard)  คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ

3.แรม (RAM) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ย่อมาจากคำว่า Random Access Memory ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่ง แล้วส่งต่อไปยัง ซีพียู เพื่อให้ซีพียูประมวลผล
4.ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) คือ เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลโปรแกรมที่ไม่ได้ประมวลผลอยู่
5.การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card)เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

6.พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply ) แหล่งจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในคอมพิวเตอร์ โดยจะทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
7.DVD ROM เป็นอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD VCD DVD โดยใช้แสงในการอ่านข้อมูล สำหรับสื่อประเภทนี้ไปสำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น
8.Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆหรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ
9.เคสคอมพิวเตอร์ คือ กล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้
10.จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น ภาพ แสง สี ตัวหนังสือ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้





 หน่วยประมวลผล

   โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon®  Scalable


คุณลักษณะและคุณประโยชน์
การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์
  รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์จากเวิร์คโหลดข้อมูลหน่วยความจำภายในที่มีความต้องการสูงสุด แล
ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยความจำขนาดใหญ่กว่าจะจัดเก็บและวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่หลากหลาย
และมีขนาดใหญ่ได้ภายในเพียงไม่กี่วินาทีหรือนาที
ความพร้อมและช่วงเวลาใช้งานสูง
   รันเวิร์คโหลดที่สำคัญบนโครงสร้าพื้นฐานที่ออกแบบใสให้มีเวลาทำงาน99.999 เปอร์เซ็นต์1 
เทคโนโลยีIntel® Run Sure นำเสนอคุณสมบัตความน่าเชื่อถือ ความพร้อม และความสามารถในการ
ให้บริการ (RAS) ที่คุณสามารถวางใจได้
ประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม
   นำประสิทธิภาพอันน่าเหลือเชื่อมาสู่ศูนย์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีระดับฮาร์ดแวร์ที่ให้การตอบสนอง
แบบเรียลไทม์ สมรรถนะอันเยี่ยมยอดสำหรับความต้องการปรับขยายเวิร์คโหลด ประสิทธิภาพที่น่า
เหลือเชื่อด้วยการจำลองเสมือนที่ได้รับการปรับปรุง และความหน่วงที่ต่ำ




         โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Gold

คุณลักษณะและคุณประโยชน์
การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์
             รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์จากเวิร์คโหลดข้อมูลหน่วยความจำภายในที่มีความต้องการสูงสุด และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยความจำขนาดใหญ่กว่าจะจัดเก็บและวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่หลากหลายและมีขนาดใหญ่ได้ภายในเพียงไม่กี่วินาทีหรือนาที
ความพร้อมและช่วงเวลาใช้งานสูง
               รันเวิร์คโหลดที่สำคัญบนโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบใสให้มีเวลาทำงาน 99.999 เปอร์เซ็นต์เทคโนโลยี Intel® Run Sure นำเสนอคุณสมบัติความน่าเชื่อถือ ความพร้อม และความสามารถในการให้บริการ (RAS) ที่คุณสามารถวางใจได้
ประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม
           นำประสิทธิภาพอันน่าเหลือเชื่อมาสู่ศูนย์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีระดับฮาร์ดแวร์ที่ให้การตอบสนองแบบเรียลไทม์ สมรรถนะอันเยี่ยมยอดสำหรับความต้องการปรับขยายเวิร์คโหลด ประสิทธิภาพที่น่าเหลือเชื่อด้วยการจำลองเสมือนที่ได้รับการปรับปรุง และความหน่วงที่ต่ำ


โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Silver
คุณลักษณะและคุณประโยชน์

Trusted Infrastructure ตั้งแต่เสาสัญญาณโทรศัพท์มือไปจนถึงศูนย์ข้อมูลของคุณ
พบกับประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น การประหยัดต้นทุนและเวลาที่เป็นไปได้ด้วยอุปกรณ์เครือข่ายที่
ใช้โปรเซสเซอร์ตระกูล Intel Xeon Silver ที่มีความสามารถในการจำลองเสมือนที่เสริม
ประสิทธิภาพด้วยฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะยกระดับ Virtualized Network Functions ไปสู่ระดับใหม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์

หน่วยที่ 6 (Power Supply)